973 President Tower ชั้น 10 ถนน เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
88/8-9, 99/9 หมู่ที่ 2 ถ.ลาดบัวหลวง-ไม้ตรา ต.ลาดบัวหลวง อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา 13230
สายไฟฟ้าเป็นส่วนสำคัญของบ้านพักอาศัยและอาคารต่างๆ แม้ว่าผู้ผลิตจะออกแบบและผลิตออกมารองรับสภาพการใช้งานและอายุการใช้งานที่นาน แต่ทุกสิ่งก็ย่อมมีการชำรุดเสียหายไปบ้างตามการเวลาและปัจจัยต่างๆ เราจึงควรมีการตรวจสอบสภาพของสายไฟฟ้ากันอยู่เสมอ วีนายน์จะมาแนะนำมีวีธีตรวจสอบสายไฟฟ้าของเรากัน ดังนี้
1. ตรวจสอบการเดินสายไฟว่าใช้สีถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่ หากไม่ถูกต้องเพียงบางจุดให้แก้ไขสลับสายใหม่ หากไม่ถูกต้องตลอดทั้งอาคารเหมือนกันหมดให้มีเครื่องหมายหรือเอกสารกำกับไว้ที่แผงสวิตซ์หรือตู้เมนสวิตซ์ด้วย เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดภายหลัง
2. ตรวจสอบจุดต่อสาย การเข้าสายต้องขันให้แน่นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
3. สังเกตอุณหภูมิของสายโดยใช้การสัมผัสที่ผิวฉนวนของสาย ถ้ารู้สึกอุ่นหรือร้อนแสดงว่ามีสิ่งผิดปกติ อาจเนื่องจากใช้ไฟเกินขนาดของสาย หรือมีจุดต่อสายต่าง ๆ ไม่แน่น เช่นบริเวณปลั๊กไฟ เต้ารับ สวิตซ์ เป็นต้น
4. สังเกตสีของเปลือกสาย ถ้าสายไฟบางเส้นมีสีเปลี่ยนไป เช่น สีขาว เปลี่ยนเป็นสีคล้ำหรือมีฝุ่นจับมาก แสดงว่ามีอุณหภูมิสูงกว่าปกติอาจมีการใช้ไฟเกินขนาดสายหรือมีการต่อสายไม่แน่น เป็นต้น
5. ฉนวนของสายไฟฟ้า ต้องไม่มีการแตกกรอบ ไม่มีรอยไหม้ ชำรุด ถ้าพบควรหาสาเหตุแล้วแก้ไขสาเหตุ พร้อมเปลี่ยนสายใหม่
6. หมั่นตรวจสอบสภาพของสายไฟฟ้าปีละ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย โดยให้มีการบันทึกข้อมูลการตรวจสภาพไว้ทุกครั้งด้วย
7. กรณีที่มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น ควรตรวจสอบขนาดของสายไฟฟ้าที่ใช้อยู่ว่าเหมาะสมหรือไม่ ถ้าขนาดสายไม่เพียงพอต้องเปลี่ยนใหม่
8. ตรวจสอบสายไฟบริเวณที่ทะลุผ่านฝ้าเพดานหรือผนัง อาจมีรอยหนูแทะเปลือกของสาย ทำให้เกิดลัดวงจร และเกิดไฟไหม้ได้
สุดท้ายนี้ วีนายน์ขอแนะนำให้ทุกท่านหมั่นตรวจสอบสายไฟฟ้าที่ใช้งานอยู่เสมอ เพื่อป้องกันความเสียหายและเพื่อความปลอดภัยต่อทรัพย์สินและชีวิตของทุกท่าน อย่าลืมหละ
ขอบคุณข้อมูลจาก การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)
973 President Tower ชั้น 10 ถนน เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
88/8-9, 99/9 หมู่ที่ 2 ถ.ลาดบัวหลวง-ไม้ตรา ต.ลาดบัวหลวง อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา 13230